สอนวิธีการ ตั้งค่า WordPress เบื้องต้น หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นการตั้งค่าในส่วนต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์ สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้อย่างง่ายแบบ step by step พร้อมทั้งวิดีโอสาธิตของแต่ละขั้นตอน
ตั้งค่า WordPress เบื้องต้นหลังจากติดตั้งเว็บไซต์
เมื่อคุณได้ติดตั้ง WordPress เสร็จสมบูรณ์แล้ว อันดับต่อไปก็คือการตั้งค่าในส่วนต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเสร็จสมบูรณ์มีหน้าตาที่สวยงาม
- ขั้นตอนการติดตั้ง Plugins
- การตั้งค่า Permalink
- Backup เว็บไซต์
- ติดตั้ง Theme
- ตั้งค่าและปรับแต่งรูปแบบ Theme
1. ติดตั้ง Plugins
ฟังก์ชันต่างๆ ของเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress จะสามารถใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีการติดตั้ง Plugins ที่จำเป็นเหล่านั้น ในลิงก์ด้านล่างนี้คือ Plugin พื้นฐานเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการทำเริ่มต้นเว็บไซต์ หากคุณต้องการการทำงานฟังก์ชันอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ
11 WordPress Plugin ปลั๊กอินฟรี แนะนำสำหรับทำ Blog ปี 2022
2. ตั้งค่า Permalink
เมื่อได้ Plugin ที่จำเป็นแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้คุณตั้งค่ารูปแบบ Permalinks (url) ในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งก็อย่างที่เราได้เคยแนะนำอยู่เป็นประจำ การเลือกใช้ url ที่สั้นจะมีส่วนช่วยในเรื่องของ SEO ได้เช่นกัน และควรตั้งค่าตั้งแต่การเริ่มต้นทำเว็บไซต์เพราะถ้าหากคุณกลับมาแก้ไขภายหลังอาจส่งผลต่อ SEO ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์คุณได้
Setting > permalink > เลือกรูปแบบ
รูปแบบที่เราแนะนำคือ https://www.seoinneed.com/sample-post/
3. Backup เว็บไซต์ก่อนติดตั้ง theme
เมื่อคุณตั้งค่าและติดตั้งปลั๊กอินเบื้องต้นไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาแนะว่าให้คุณ backup เว็บไซต์ค่าเริ่มต้นนี้ไว้ หากคุณดำเนินการผิดพลาดในขั้นตอนต่อไปที่ไม่สามารถแก้ไขได้คุณก็จะสามารถกู้คืนค่าเบื้องต้นของเว็บไซต์ที่คุณได้ทำการ backup ไว้ได้
การ backup จึงจำเป็นมากสำหรับทุกขั้นตอนของมือใหม่ หากคุณปรับแต่งเว็บเป็นที่พอใจในแต่ละขั้นตอนแล้วให้กด backup ข้อมูลเว็บไว้อยู่เสมอเพื่อให้คุณสามารถกู้คืนได้ในแต่ละสเต็ปโดยที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นติดตั้ง wordpress ใหม่ในกรณีที่คุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้จริงๆ
ในส่วนของขั้นตอนการ backup ซึ่งเราก็ได้ติดตั้งปลั๊กอินไปแล้วในขั้นตอนก่อนหน้านี้ซึ่งนั้นก็คือ UpdraftPlus Backup/Restore ที่จะสามารถทำให้คุณกด backup ข้อมูลได้ง่ายๆ เพียงแค่คลิกเดียว
4. ติดตั้ง WordPress Theme
Theme คือสิ่งสำคัญสำหรับการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เนื่องจากเป็นหน้าตาที่จะบ่งบอกความสวยงามและฟังก์ชันต่างๆ ของ Theme ที่จะเป็นสิ่งที่มอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์
Appearance > Theme > New
สามารถเลือกตัวกรองเพื่อค้นหา Theme ในรูปแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่าย
จากนั้นกดเลือกและค้นหา theme ที่คุณต้องการแนะนำให้เลือกตามวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เช่น Blog them เพื่อสำหรับการเขียนบล็อก Business theme สำหรับการทำเว็บขององค์กรต่างๆ E-Commerce theme สำหรับทำเว็บขายของ
ข้อสังเกต: ในการติดตั้ง Theme บางรูปแบบ ระหว่างติดตั้ง ทาง Theme จะมี Plugins แนะนำ ดังนั้นในตั้งค่า Theme คุณจึงจำเป็นต้องที่จะติดตั้งปลั๊กอินนั้นๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งาน Theme ที่คุณเลือก
5. Customize Theme
การปรับรูปแบบหน้าตาของเว็บไซต์ด้วยสามารถทำได้โดยการคลิก Customize โดยขั้นตอนดังนี้
การปรับแต่งหน้าตาเว็บฟีเจอร์ของแต่ละ theme ที่คุณสามารถปรับตั้งค่าได้จะอยู่ตรงส่วนนี้
คลิก Customize เพื่อปรับแต่งแบบ live preview
- Site Identity เป็นการตั้งค่า Site title และ tag line รวมถึง รูปภาพที่จะปรากฏบนแท็บของ Browser เมื่อมีการเปิดเว็บไซต์ขึ้น หากต้องการใส่ Logo ก็สามารถใส่ได้ที่เมนูนี้เช่นกัน
- Theme option ปรับแต่งในส่วนต่างๆ ตามขอบเขตความจำกัดที่ Theme นั้นๆ ที่คุณเลือกสามารถทำได้ พร้อมทั้งประแต่งส่วนอื่นๆ ในหน้า customized นี้ ตรงส่วนนี้อาจจะต้องใช้เวลามากสักหน่อยเนื่องจากต้องค่อยๆ ปรับ ไปทีละส่วน ไม่ว่าจะเป็น สีสันของเว็บไซต์ Menu, Header, Footer, Block layout รวมถึง widgets ต่างๆ ที่จะปรากฏในหน้าของเว็บไซต์
ในบาง Theme อาจมี template ที่สามารถ import demo data นั่นหมายความว่าคุณสามารถโคลนหน้าตาเว็บของตัวเองได้เหมือนกับ Theme demo ได้เพียงแค่คลิกเดียว จากนั้นก็เพียงแค่ไล่แก้ข้อมูลบนเว็บไปทีละจุด Theme ลักษณะนี้จะทำให้ง่ายต่อการ Customize เว็บไซต์สำหรับมือใหม่ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ก่อนการติดตั้ง Theme ให้กับเว็บไซต์คุณจึงควรมีการศึกษาดูว่า Theme รูปแบบที่คุณต้องการนั้นมีฟีเจอร์การใช้งานอย่างไรบ้าง และการเข้าถึงการปรับแต่งนั้นทำได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับบาง Theme ที่อาจไม่มีฟังก์ชัน import demo data หากคุณเลือกใช้เป็นแบบ Blog theme, News theme หรือ Magazine Theme แนะนำให้คุณกดสร้าง post โดยเป็นการ Mockup content เพื่อให้คุณสามารถเห็นรูปแบบหน้าตาการทำงานของ theme ได้ในระหว่างการปรับแต่ง
สร้าง mockup โพสต์ เพื่อให้การปรับแต่งง่ายขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถ import demo data ของ Theme ที่คุณเลือกได้
สำหรับคนทำบล็อกก่อนการเริ่มต้นทำคอนเทนต์อยากให้มองภาพรวมๆ ในการสร้างเว็บขึ้นมาก็คือว่าเว็บของคุณเกี่ยวกับเรื่องของอะไร คอนเทนต์ที่คุณจะเริ่มเขียนลงนั้นเป็นข้อมูลในส่วนของอะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้อยากให้นึกภาพรวมๆ ก่อนเพื่อสามารถทำการสร้างโครงสร้างของเว็บไซต์ระหว่างการปรับแต่งได้ เช่น
กำหนดเมนูหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์
ตัวอย่าง Menu :
- Home
- Blog
- Contact us
- หรืออื่นๆ ที่คุณต้องการ
แต่โดยปกติแล้วสำหรับเว็บเขียนบล็อกทั่วไปอาจมีเพียงหน้าเดียวนั่นก็คือหน้า Home แต่ถ้าหากคุณอยากให้มีหน้าอื่นๆ ก็สามารถเพิ่มหน้าได้โดยการใช้ Catagory page ตามความต้องการ
ในส่วนของบล็อกจะแยกเป็นกี่หมวดหมู่?
Blog post :
- 1 Category
- 2 Category
- 3 Category
- 4 Category
- 5 Category
ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราจะสามารถนำไปใส่เป็นเมนูบนหน้าเว็บเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อไปยังหมวดหมู่ของบทความนั้นๆ ทำได้ที่ขั้นตอนของการ customize โดยไปที่ตัวเลือกของ Menu จากนั้นก็เพิ่มแต่ละ category เข้าไปที่เมนูของหน้าเว็บได้นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือ Step การตั้งค่าเบื้องต้นหลังจากการตัดตั้ง CMS WordPress บนโฮสต์ เมื่อคุณปรับแต่งเว็บไซต์เป็นที่พึงพอใจแล้วก็ให้ทำการ backup ข้อมูลไว้ จากนั้นก็สามารถเริ่มต้นการพัฒนาเว็บไซต์ความสามารถในส่วนอื่นๆ ต่อไปตามความต้องการของตนเองได้เพิ่มเติม
ชมวิดีโอสาธิตแต่ละขั้นตอน
สนใจทำเว็บไซต์
- เช่า Hosting ทำเว็บไซต์ ▶
- จดโดเมน ▶