จดโดเมน ได้ที่ไหน มีวิธีการเลือกชื่อโดเมนอย่างไร

จดโดเมน ได้ที่ไหน มีวิธีการเลือกชื่อโดเมนอย่างไร

ถ้าพูดถึงเรื่องจองการทำเว็บไซต์แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการ จดโดเมน วิธีการเลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบผลสำเร็จในอนาคต

เนื่องจากชื่อเว็บไซต์เปรียบเสมือนชื่อเเบรนด์ที่คนจะจดจำเว็บไซต์ของคุณและค้นหาในชื่อนั้นเมื่อพวกเขานึกถึงสินค้าหรือบริการของคุณ หากคุณเลือกชื่อโดเมนผิด การเปลี่ยนภายหลังสามารถส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อแบรนด์หรือแม้กระทั้งเว็บไซต์ ranking ของคุณได้

 

โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร

โดเมนคือชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ของคุณที่ผู้คนพิมพ์สามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ในแถบ URL ของเบราว์เซอร์เพื่อเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้

เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าหากว่าเว็บไซต์ของคุณคือบ้าน ชื่อโดเมนของคุณก็จะเป็นที่อยู่หรือบ้านเลขที่นั่นเอง

คำอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม:

โลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายเคเบิลทั่วโลก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายนี้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้อย่างไร้พรมแดน

เพื่อระบุตัวตนของคอมพิวเตอร์ ในแต่ละเครื่องจะมี IP Address เป็นชุดตัวเลขที่ระบุคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นเครื่องใจในโลกของอินเทอร์เน็ต ซึ่งหน้าตาตัวเลขเจ้า IP ที่ว่าจะมีลักษณะดังนี้: 66.249.66.1

ลองนึกภาพถ้าคุณต้องใช้ตัวเลขเหล่านี้เพื่อเข้าชมเว็บไซต์เว็บใดเว็บหนึ่ง มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเอาเสียเลย ดังนั้นการมีโดเมนเนมจึงเป็นตัวที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ เพียงแค่คุณพิมพ์ชื่อโดเมนลงบนช่อง url ของเว็บบราวเซอร์คุณก็จะสามารถเข้าชมเว็บไซต์นั้นๆ บนโลกอินเตอร์เน็ทได้อย่างง่ายดาย

เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับโดเมนและการเลือกชื่อในการจดทะเบียนโดเมนสำหรับเว็บไซต์ว่ามีความสำคัญอย่างไรบ้างแล้ว มาดูเทคนิคเคล็ดลับในการเลือกชื่อให้กับเว็บไซต์เพิ่มเติม เพื่อให้คุณสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาตั้งชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณได้

เคล็ดลับในการเลือก จดโดเมน

สำหรับใครที่กำลังมีความสนใจในการเริ่มต้นทำบล็อก เรามีเทคนิคดีๆ 14 ขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกจดโดเมน ด้วยชื่อที่ดีที่สุดสำหรับเว็บไซต์ของคุณ

1) ให้เลือกใช้ .com

เพราะเนื่องจากว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่ารูปแบบอื่นๆ และนิยมใช้กันในสากลทั่วไป

2) ใช้ keyword ในการตั้งชื่อโดเมน 

โดยจะต้องเป็น keyword ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ที่คุณจะสร้างขึ้นจะดีมากๆ เนื่องจากอาจมีผลต่อ SEO ในอนาคต

3) ใช้โดเมนที่สั้นและไม่ควรเกิน 15 ตัวอักษร

โดเมนที่มีชื่อยาวเกินไปอาจจะทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์จดจำได้ยาก และพิมพ์ผิดพลาดในการเข้าชมเว็บไซต์แต่ละครั้ง

4) ใช้คำที่ง่ายต่อการออกเสียงและสะกดคำ

เพื่อให้ง่ายต่อการบอกชื่อเว็บของคุณในอนาคต และจดจำได้ง่ายหากเมื่อมีใครกล่าวถึง

5) ใช้ชื่อโดเมนที่มีเอกลักษณ์แฝงความเป็นเเบรนด์

เพื่อให้เกิด Branding เห็นแล้วจดจำได้ง่าย และเลือกใช้คำที่เจาะจงเกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บไซต์

6) หลีกเลี่ยงการใช้ – ในโดเมน

เนื่องเว็บไซต์ที่ใช้สัญลักษณ์เหล่านั้นบ่งบอกถึงเว็บสแปม และอีกเหตุผลหนึ่งก็คืออาจทำให้ผู้ใช้งานพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณผิดเพราะลืมใส่ – ซึ่งกรณีนี้อาจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บคู่แข่งของคุณที่เป็นชื่อโดเมนเดียวกันที่ไม่มี – ก็เป็นได้

7) หลีกเลี่ยงการใช้อักษรคู่

เมื่อโดเมนนั้นไม่ว่างเเล้วให้หลีกเลี่ยงการใช้อักษรคู่ซ้ำ เช่น tthailand.com เพราะเว็บลักษณะนี้อาจทำให้เกิดความสับสน ระหว่างเว็บของคุณที่มี tt กับอีกเว็บหนึ่งที่เป็น thailand.com ลักษณะเช่นนี้ส่งผลในแง่ลบต่อความเชื่อถือของเเบรนด์และเว็บไซต์ของคุณได้เช่นกัน

8) ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเว็บไซต์

เพื่อไม่ให้เป็นการกำหนดขอบเขตของรูปแบบคอนเทนต์เกินไป ทำให้คุณสามารถเขียนบทความที่เกี่ยวข้องได้หลากหลายและมีความเชื่อมโยงกันของข้อมูลบนเว็บไซต์ เช่น

9) จดโดเมน ก่อนที่คนอื่นจะได้ชื่อนั้นไป

หากคุณมีไอเดียชื่อโดเมนที่ชออบแล้วให้คุณรีบทำการจดโดเมนชื่อนั้นทันที เพราะทุกวันนี้โดเมนมีราคาที่ค่อนข้างถูกคุณสามารถจดโดเมนไว้ก่อนโดยที่ยังไม่จำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์ ถ้าหากคุณเปลี่ยนใจภายหลังก็สามารถปล่อยให้มัน expired ไปได้โดยไม่ส่งผลใดๆ ดีกว่าที่คุณมานั่งนึกเสียดายว่าทำไมไม่รีบจดไว้เพราะตอนนั้นคนอื่นได้จดชื่อโดเมนนั้นไปเป็นเจ้าของเรียบร้อยเเล้ว

 

แนะนำเว็บไซต์สำหรับจดโดเมนออนไลน์ง่ายๆ ราคาประหยัด >> https://bit.ly/34dbATA

 

Hostinger

 

จดโดเมน ได้ที่ไหน มีวิธีการเลือกชื่อโดเมนอย่างไร 2

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

อ้างอิง:

https://www.wpbeginner.com/beginners-guide/tips-and-tools-to-pick-the-best-domain-for-your-blog/

แชร์เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *