อยากให้เว็บไซต์ ติดหน้าแรก Google สิ่งสำคัญที่หลายคนรู้จักนั้นก็คือการทำ On-Page SEO แต่นอกจากนี้แล้ว รู้หรือไม่ยังมีเทคนิคต่างๆ อีกมากมายที่จะสามารถส่งผลต่อการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของคุณได้
เพื่อให้คุณได้เรียนรู้และเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO เราได้รวบรวม 9 ปัจจัยที่สามารถส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้มาแบ่งปันในบทความนี้
9 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำ SEO
อย่างที่หลายคนทราบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์นั้นมีมากมายกว่า 200 ปัจจัย เพื่อให้คุณได้นำไปใช้และได้ผลลับที่ดี เราจึงขอหยิบยกเอา 9 ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
- Backlinks
- Freshness
- Topical authority
- Search intent
- Content depth
- Page speed
- HTTPS
- Mobile-friendliness
- User experience
1) Backlinks
หลายคนทราบดีว่าการทำ Backlinks นั้น เป็นปัจจัยพื้นฐานอันดับต้นๆ ที่สามารถส่งเสริมให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ เพื่อให้คุณสามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากบทความ Backlinks สำคัญอย่างไรกับ SEO
อย่างไรก็ตามหลักสำคัญของการทำ Backlinks นั้นก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกันนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันของเนื้อหา (Relevance) ในแต่ละหน้า เพื่อเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการสร้าง Page Authority ได้นั่นเอง
Relevance (ความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน)
เพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์ของคุณเป็นบริการแท็กซี่ หากคุณต้องการ backlinks คุณคิดว่าคุณควรติดต่อเว็บประเภทไหนระหว่าง เว็บท่องเที่ยว vs เว็บสอนทำอาหาร แนะนำเว็บไซต์ของคุณสำหรับบริการแท็กซี่ แน่นอนว่าคุณควรที่จะเลือกเว็บท่องเที่ยว เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันของเนื้อหาซึ่งจะส่งผลดีต่อ SEO เว็บไซต์ของคุณได้
Authority
Backlinks ที่มาจากเว็บที่มี Page Authority สูงย่อมส่งผลดีต่อเว็บที่ได้รับ Backlinks เพราะเนื่องจากเว็บเหล่านั้นเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นหาและมีความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา ดังนั้นการที่เว็บไซต์ของคุณได้รับ backlinks จากเว็บไซต์ที่มี Page Authority ที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของคุณด้วยเช่นกันเนื่องจากเป็นการแนะนำจากเว็บที่มีความน่าเชื่อถือนั่นเอง
2) ความใหม่ของเนื้อหา
ความสดใหม่ของเนื้อหาหรือเนื้อหาที่อยู่ในกระแสลักษณะนี้จะช่วยเพิ่ม Traffic ได้ดี เนื่องจากมีการค้นหาที่สูง ผู้คนอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใหม่นี้
บอกจากนั้น ด้วยระบบการทำงานของ Google เอง ที่ต้องการตอบสนองผู้ใช้งานให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่อัพเดท ข้อมูลบนเว็บไซต์ที่ลงใหม่จึงจะได้รับการแนะนำบนผลการค้นหาใน Google ไปโดยอัตโนมัติ
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่า เนื้อหาเก่าที่โพสต์ไปนานแล้วจะไม่ติดอันดับไปเลยเสียทีเดียว โดยคุณสามารถกลับไปอัพเดทข้อมูลในหน้าบทความเก่าแก้ไขเล็กน้อยเพื่อให้ข้อมูลในหน้านั้นๆ มีความอัพเดทและทันสมัยในยุคปัจจุบัน
เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็จะมีความ Freshness หรือความสดใหม่ของข้อมูล เป็นโอกาสให้ Google นั้นแนะนำบทความจากเว็บไซต์ของคุณในแต่ละคีย์เวิร์ดคำค้นหา เพื่อไปอยู่ในหน้าแรกหรืออันดับต้นๆ ได้เช่นกัน
3 ข้อแนะนำสำหรับการสร้างความใหม่ของเนื้อหา
- ลงโพสต์หรือบทความใหม่ๆ บนเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ
- อัพเดตบทความเก่าๆ หากสังเกตเห็นว่าบทความที่เคยอยู่ในหน้าแรกนั้นตกอันดับลงไป
- โฟกัสความสำคัญของข้อมูลบนเป็นไซต์ พยายามสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นหาให้ได้มากที่สุด
3) Topical Authority
Google มีเป้าหมายในการให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้งานการค้นหาในแต่ละ Keyword ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า Topical Authority คือการที่ Google จะนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตรงตาม Keyword ในอันดับต้นๆ และต่อมาจะเป็นเนื้อหาที่มีความใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่ใช้ค้นหาเรียงลงมาตามความสำคัญ
ดังนั้นเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณได้ตำแหน่งในพื้นที่หน้าแรกของ Google ด้วยวิธีการของ Topical Authority นี้ คุณจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างบทความที่ครอบคลุม ลักษณะคล้ายกับ Content Pillars ใน 1 หัวข้อหลัก คุณสามารถแยกย่อยให้ข้อมูลเสริมไปในแต่ละเรื่องเพื่อให้ครอบคลุมตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหาให้ได้มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรเขียนไปหมดเสียทุกเรื่องควรโฟกัสกับเนื้อหาคอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจง (Niche) ของเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น
4) Search Intent
จุดประสงค์ของการค้นหาบน Google นั้นมีหลากหลาย เช่น การค้นหาเพื่อหาความรู้ การค้นหาเพื่อซื้อสินค้า การค้นหาเพื่อหาตำแหน่งที่ตั้ง เราจึงจำเป็นที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ Search Intent สำหรับการกำหนด Keyword และ Meta Data ต่างๆ ในการทำ SEO เพื่อตอบสนองเจตนาของผู้ค้นหา ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานการทำ SEO
5) Content Depth
Google ต้องการจัดอันดับผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับ Keyword ที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตใช้ค้นหา ดังนั้นการเขียนบทความให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหาคือหัวใจสำคัญ
อย่างไรก็ตาม Content Depth ไม่ได้หมายถึงความยาวของเนื้อหาที่เขียน เพราะจริงๆ แล้วการเขียนเนื้อหาที่ยาวก็ไม่ได้รับผลดีเสมอไป หากแต่เกี่ยวกับว่าเนื้อหานั้นให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมสำหรับคำค้นหาของผู้ค้นหาได้มากเกินกว่าที่พวกเขาคาดหวังไว้นั่นเอง
6) Page Speed
Page Speed ถูกจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยของการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ Google เมื่อปี 2010 สำหรับการค้นหาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อในปี 2018 การค้นหาบนมือถือมีอัตราเพิ่มมากขึ้น Google จึงได้เพิ่ม Page speed บนมือถือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Ranking Factors
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวมีผลเพียงเล็กน้อย 1% ต่อการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ สิ่งสำคัญที่ Google มองถึงคือการมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่เร็วที่สุดให้แก่ผู้ค้นหา
Google กล่าวในปี 2018 ว่า Mobile site ควรแสดงเนื้อหาแก่ผู้ใช้ภายในสามวินาทีและ TTFB (Time to First Byte) ควรน้อยกว่า 1.3 วินาที
ตรงนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญว่าคุณจะสามารถเอาชนะเว็บไซต์คู่แข่งได้อย่างไรภายในเสี้ยววินาที เพื่อคงรักษาอันดับหน้าเว็บไซต์ของคุณให้ ติดหน้าแรก google เพื่ออยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าได้มากที่สุด ดังนั้นจึงควรที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณเร็วพอที่จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผู้ใช้งาน
7) HTTPS
HTTPS คือระบบการปรับปรุงความปลอดภัยสำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยเป็นการเข้ารหัสข้อมูลระหว่างเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์
เริ่มต้นแต่เมื่อปี 2014 Google ได้เริ่มมุ่งเน้นให้เว็บไซต์ต่างๆ หันมาใช้งาน HTTPS มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเว็บไซต์ของคุณไม่ได้เข้าระหัสความปลอดภัยนี้ เมื่อผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์ด้วย Google Chrome จะมีการแสดงข้อความเตือน “Not secure” บนแถบ URL ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานนั่นเอง
8) Mobile-friendliness
การค้นหาบนมือถือมีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากมีความสะดวกและเรียกได้ว่าเกือบทุกคนแทบจะมีมือถือส่วนตัวที่สามารถค้นหาสิ่งต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตได้ Google จึงได้มีการสร้าง Mobile-friendliness Ranking Factor สำหรับการค้นหาบนมือถือโดยเฉพาะขึ้นเมื่อปี 2015
และเมื่อในปี 2019 Google ได้มีการใช้ Mobile-first indexing มาเป็นอีกหนึ่ง Ranking Factor สำหรับการค้นหาบน Desktop อีกด้วย
ดังนั้นควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเป็น Mobile-friendly ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของเว็บไซต์
เกี่ยวกับการใช้งานบนมือถือได้ที่ Google Search Console
หากเกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการใช้งานบนมือถือจะมี Report แสดงขึ้นในกรอบสีแดงด้านล่างนี้
9) User experience
แน่นอนว่า Google มุ่งเน้นถึงความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลักในการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์บนผลการค้นหา ดังนั้นประสบการณ์การใช้งานที่ดีจึงเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ควรที่จะคำนึงถึง
ตัวอย่างเช่น ในปี 2016 Google ประกาศว่าหน้าเว็บไซต์ที่มีโฆษณาคั่นระหว่างหน้า (เช่น ป๊อปอัป) อาจไม่ได้รับการจัดอันดับสูงเท่ากับหน้าเว็บไซต์ที่นำเสนอประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน
และนี่คือคำแนะนำบางส่วนจาก Google สำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่จะสามารถมอบประสบการณ์ที่ดี (User Experience) ต่อผู้ใช้งาน
- เนื้อหาที่อ่านง่าย
- เว็บไซต์ที่มีรูปแบบการจัดการที่ดี
- มีเนื้อหาที่น่าสนใจและมีประโยชน์
- การออกแบบที่ตอบสนองทุกอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต
- ไม่มีโฆษณาที่รบกวนมากเกินไป
- เว็บไซต์ที่ออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน
สรุป
- สร้างคอนเทนต์ที่มอบสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไซต์ของคุณ Responsive หรือไม่ สามารถใช้ได้ในทุกๆ อุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณไม่น่ารำคาญมีสิ่งรบกวนมากเกินไป เช่น โฆษณาที่มากเกินไป หรือ pop-up ระหว่างที่ใช้งานเว็บไซต์
- ใช้ข้อมูลที่ครอบคลุมและแม่นยำ
- กำหนดเนื้อหาข้อมูลว่าเว็บไซต์ต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ไม่ควรเขียนปะปนกันทุกเรื่อง
- สร้าง backlinks ให้กับเว็บไซต์
- อัพเดตข้อมูลเว็บไซต์และลงเนื้อหาใหม่ๆ อยู่เสมอ
เรียนรู้เพิ่มเติม
- Yoast SEO | วิธีทำ SEO เบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น
- การเปลี่ยน ธีม wordpress ส่งผลต่อ SEO ของเว็บไซต์จริงหรือไม่
- ทำ SEO เว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกเริ่มต้นได้ด้วย Internal Link
Reference : https://ahrefs.com/blog/google-ranking-factors/