สำหรับคนที่ทำเว็บไซต์การทำ SEO (Search Engine Optimization) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความใส่ใจ เพื่อให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ของคุณนั้นเข้าถึงผู้ใช้งาน internet ได้โดยผ่านการค้นหาบน Google โดยปัจจัยของการทำ SEO นั้นก็มีหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวของ ซึ่งในบทความนี้เราได้หยิบยกในเรื่องของ Meta Description ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งใน Meta tags มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจว่าข้อมูลส่วนนี้มีส่วนสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับการทำ SEO
Meta Description คืออะไร?
Meta Description คือ ข้อมูลเนื้อหาโดยย่อเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งของ Meta tags ข้อความ meta นี้จะไปแสดงในหน้าของผลการค้นหาผล Google หรือ Search Snippet เพื่อให้ผู้ค้นหาสามารถรับรู้ได้ว่าบทความที่ปรากฏนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับสิ่งที่เขากำหลังค้นหาอยู่หรือไม่ ก่อนที่จะคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์นั้นๆ เพื่ออ่านข้อมูลทั้งหมดบนบทความ
ตัวอย่าง
Meta tags ของเว็บไซต์แต่ละหน้าที่จะไปปรากฏในผลการค้นหาบน Google
ทำไม Meta Description จึงสำคัญต่อการทำ SEO เว็บไซต์
เนื่องจาก Meta Description คือ อีกหนึ่งส่วนสำคัญในการปรับแต่ง on-page SEO เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อหน้าเว็บหรือบทความจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ Meta Description ให้สมบูรณ์แบบและสอดคล้องกับเนื้อหาบทความพร้อมทั้ง Keyword
ในส่วนที่มีความสำคัญต่อ SEO ก็คือ การสร้าง click-through rate (CTR) บน Google SERPs เนื่องจาก Meta Description คือการที่เราใส่คำเชิญชวนให้ผู้ค้นหาเปิดอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งเมื่อถ้าหากเว็บไซต์ใดเกิดการคลิกที่บ่อยขึ้น จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น ผู้ค้นหาใช้เวลาในการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ ลักษณะดังนี้จึงจะส่งผลดีต่อ SEO ในการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ได้นั่นเอง
หลักในการเขียน Meta Description
ในทางเทคนิคแล้วการเขียน Meta Description ไม่ได้ระบุความยาวของข้อความว่าต้องมีความสั้นยาวของข้อความเท่าใด แต่ในการแสดงผลแบบ Snippet Search นั้น Google จะทำการแสดงผลข้อความเพียงแค่ 155-160 ตัสอักษรเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้พอดีต่อการแสดงผลบนหน้าของการค้นหา เราจึงแนะนำว่า Meta Description ควรมีความยาวของข้อความประมาณ 50 เป็นอย่างน้อย ไปจนถึง 160 ตัวอักษร
ทั้งนี้ในการเขียนนั้นก็ขึ้นอยู่กับ เนื้อหาบนเว็บไซต์หน้านั้นๆ ดึงข้อความที่สามารถตอบโจทย์ผู้ค้นหา สามารถโน้มน้าวพวกเขาเหล่านั้นเข้าสู่เว็บไซต์ของคุณเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงการสอดแทรก Keyword ที่เกี่ยวข้องเข้าไปใน Meta Description เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งหมด ระหว่าง เนื้อหาในบทความ คีย์เวิร์ดที่เรากำหนด และคีย์เวิร์ดที่ผู้ค้นหาใช้ค้นหาข้อมูลบน Google
สรุปหลักการ:
- ข้อความมีความยาวระหว่าง 150 – 160 ตัวอักษร
- แทรก Keyword ในข้อความ
- ไม่ควรใส่ Meta Description ที่ซ้ำกันในแต่ละหน้า
- หลีกเลี่ยงการใช้ (“…”)
- เขียนในลักษณะเชิญชวนสร้างความน่าสนใจและเปิดอ่าน
วิธีใส่ Meta Description สำหรับ WordPress
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ทำเว็บไซต์หรือว่าทำ Blog ด้วย WordPress การใส่ Meta Description สามารถทำได้โดยการติดตั้ง Plugin สำหรับการปรบแต่ง SEO ซึ่งในบทความนี้เราขอนำเสนอเป็น Plugin ที่มีชื่อว่า Yoast SEO เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่ง On-Page SEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชมวิดีโอสาธิตการใช้งาน Yoast SEO
เมื่อรู้ความสำคัญของ Meta Description ที่ส่งผลการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์บน Google SERPs แบบนี้แล้ว เราอาจจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นสักนิดในการเขียน Meta Description ในแต่ละหน้าเพื่อให้บทความหรือหน้าเว็บไซต์นั้นๆ แสดงผลเนื้อหาโดยย่อได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อผู้ค้นหาบน Google
ข้อมูลเพิ่มเติม
- SEO ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มต้นทำเว็บไซต์
- 9 วิธีเพิ่ม Web Traffic หรือจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สำหรับ Blogger
- การทำ SEO รูปภาพ บนเว็บไซต์อย่างง่ายสำหรับคนทำบล็อก
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก : https://moz.com/learn/seo/meta-description