9 วิธีเพิ่ม Web Traffic หรือจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สำหรับ Blogger

9 วิธีเพิ่ม Web Traffic หรือจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สำหรับ Blogger

9 วิธีเพิ่ม Web Traffic หรือจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

ถ้าหากคุณกำลังเริ่มทำบล็อกและต้องการที่จะเปิดสร้างรายได้จากเว็บไซต์ด้วย Google Adsense เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าก่อนอื่นนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องสร้าง Web Traffic ซึ่งก็หมายถึง “จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์” ที่เข้ามาอ่านเนื้อหาบทความบนบล็อกของคุณนั่นเอง

ต่อไปนี้เป็นเทคนิคทางด้าน SEO ที่จะช่วยทำให้คุณสามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้ โดยมีทั้งแบบที่สามารถทำได้ฟรีและแบบที่ต้องจ่ายเงิน

1) ทำ On-Page SEO

การปรับแต่ง SEO ในบทความ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด Keyword การปรับแต่งเนื้อหาคอนเทนต์ รูปภาพ การตั้งชื่อ link ใส่ Tag Title และ Meta Descriptions โดยใช้เครื่องมือปรับแต่ง SEO ยกตัวอย่างเช่น Yoast SEO นั่นเองค่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ SEO Checklist

ขั้นตอนนี้เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทำ SEO จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำในทุกๆ ส่วนของเนื้อหาทั้งคอนเทนต์และรูปภาพ เพื่อให้แต่ละบทความเป็นบทความที่มีประสิทธิภาพในมุมของ Google

2) สร้าง Backlinks

การสร้าง backlinks เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทำ Off-Page SEO โดยวิธีคือนำลิงก์เว็บไซต์ของคุณไปวางบนเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีเนื้อหาบทความใกล้เคียงกันนั่นเองค่ะ เพราะวิธีนี้จะเป็นการแสดงถึงว่า บทความบนเว็บไซต์ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพจึงทำให้มีการใส่ลิงก์ชี้มายังเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาทั้งหมดได้นั่นเอง

ยิ่งมีเว็บไซต์ Refer มาที่เว็บไซต์ของคุณมากเท่าไหร่ นั้นก็ยิ่งเท่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณเป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจต่อผู้อ่านในมุมของ Google algorithm และยิ่งจะทำให้บทความนั้นขึ้นไปอยู่ในอันดับที่สูงขึ้นในหน้าของผลการค้นหา

 

3) แชร์บทความไปยัง Social Media

การรอ organic traffic อาจจะช้าไป ในระยะเริ่มต้นคุณจึงควรที่จะมีการแชร์บทความไปยังสื่อช่องทาง Social Media ต่างๆ ของตนเอง เพื่อให้เกิดการคลิกโดยเพื่อนหรือคนรู้จักของคุณจาก Social Media นั้นๆ

4) ใส่ Tags ในบทความ

หลายคนอาจจะมองข้ามในส่วนของ Tags ในการสร้างบทความบนเว็บไซต์ แต่รู้หรือไม่นอกจาก Traffic จะมาจาก Keyword ที่กำหนดแล้ว ผู้ค้นหายังสามารถค้นหาเว็บไซต์หรือบทความของคุณเจอได้ด้วย Tags ที่คุณใส่นั้นเอง

ใส่ Tags ในบทความ

5) เลือกใช้คีย์เวิร์ดแบบ Long-Tail Keywords

การใช้ Long-tails keywords สำหรับเว็บไซต์ที่พึ่งเริ่มต้นเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะเนื่องจากคุณจะมีโอกาสสูงที่จะสามารถติดอันดับในคีย์เวิร์ดนั้น เนื่องจาก Short Keywords อาจถูกใช้งานในหลายๆ เว็บไซต์ ดังนั้นโอกาสที่เว็บของคุณจะถูกเปิดด้วยคำค้นหาแบบสั้นอาจเป็นไปได้ แต่น้อยมากและอาจใช้ระยะเวลานาน

6) Google Analytics

หากคุณได้เริ่มต้นทำเว็บไซต์และต้องการ Track ผู้ใช้งานอย่างจริงจัง คุณจึงไม่ควรพลาดที่จะใช้งาน Google Analytics เครื่องมือนี้จะทำให้คุณสามารถดูข้อมูลเชิงลึก พฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ Traffic การเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณมาจากบทความใด กลุ่มผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณเป็นใครบ้าง และเขาเหล่านั้นอยู่ที่ไหน คุณสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละช่วงได้ตามความต้องการ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และสร้างคอนเทนต์ของคุณให้น่าสนใจต่อกลุ่มผู้ใช้งานของคุณได้ดีมากยิ่งขึ้น

ใช้งาน Google Analytics

7) Google Search Console

เครื่องมือดังกล่าวนี้จะสามารถทำให้คุณดู Search Performance ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณได้ กลุ่มผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ด้วย Keywords ใด และเป็นที่นิยมมากสุด เพื่อให้คุณสามารถสร้างเนื้อหาบทความที่ใกล้เคียงให้แก่ผู้อ่านต่อไป

Google Search Console

8) Google Ads

วิธีนี้จะเป็นวิธีที่คุณจะต้องควักเงินจากกระเป๋าสักหน่อย แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เห็นผลไว และได้ traffic ที่ตรงกลุ่ม โดยคุณสามารถกำหนด Keywords หรือคำค้นหา เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ในหน้าเเรกเมื่อมีการค้นหาด้วย Keyword ที่คุณกำหนด โดยที่ไม่ต้องรอ SEO กันเลย

9) Facebook Ads

อย่างที่เรารู้กันว่าการโพสต์บนเพจนั้นปัจจุบันนี้มีอัตราการเข้าถึงที่ค่อนข้างต่ำมาก ดังนั้นเพื่อให้ได้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ตรงกลุ่มบนพื้นที่ของ Facebook คุณจึงจำเป็นที่จะต้องมีการยิงแอดกันสักหน่อย อาจจะใช้งบประมาณเพียงบทความละ 100-200 บาทเพียงเท่านี้ก็เห็นผลได้มากแล้ว ถ้าหากคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการยิงแอดได้ตรงกับความสนใจในเนื้อหาบทความหรือเว็บไซต์ของคุณ

 

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำเว็บ ไม่ควรใช้ Web Traffic Generator หรือการซื้อ Traffic จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ เพราะเนื่องจากอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณเกิดปัญหาดังต่อไปนี้ได้

  1. จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จาก Traffic Generator อาจส่งผลต่อการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ผลดีอย่างแน่นอน
  2. Traffic ที่เข้ามาไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจกับเนื้อหาบทความบนเว็บของคุณ ไม่สามารถนำไปทำการตลาดออนไลน์ต่อไปได้
  3. เว็บไซต์ของคุณอาจสามารถโดย Banned โดย Google ได้

 

รับชมข้อมูลเพิ่มเติม

 

บทความเพิ่มเติม

แชร์เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *